สมเด็จพระสังฆราช
แห่งราชอาณาจักรไทย
สมัยรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระสังฆราช
เป็นตำแหน่งอิสริยยศสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแด่พระมหาเถระของคณะสงฆ์ไทย
เพื่อสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายกปกครองบัญชาการคณะสงฆ์ให้สงบสุข
สง่างาม
ยังความไพบูลย์แก่สังฆมณฑล
รวมทั้งประชาชนในราชอาณาจักรและหมู่มหาชนชาวโลก
สมเด็จพระสังฆราชจึงเป็นตำแหน่งสูงสุดของการคณะสงฆ์ที่จะเกื้อกูลต่อพระสงฆ์ในเมทินีดลจักนำพหุชนจรรโลงให้พลโลกเข้าถึงพระพุทธรัตนานุภาพ
พระธรรมรัตนานุภาพ
และพระสังฆรัตนานุภาพ
ประพฤติธรรมเพื่อพ้นจากกิเลสมาร
ตัดวัฏสงสารสู่โลกสุขเกษมถึงหลักชัยที่สุดแห่งธรรมตามรอยบาทแห่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประทานไว้นานนับสองพันห้าร้อยสี่สิบปีล่วงมาแล้ว
แผ่นดินรัตนโกสินทร์นับแต่พุทธศักราช
๒๓๑๐
ประวัติศาสตร์ขานว่าพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกดับ
บ้านเมืองย่อยยับเพราะการสงคราม
พระเจ้าตากสินมหาราชกู้ชาติกลับคืนมาได้
สร้างกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
ทรงตั้งพระสงฆ์ผู้ดำรงธรรมและวินัยให้เป็นพระราชาคณะ
ช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ทรงรวบรวมพระไตรปิฎกจากหัวเมืองมาคัดเลือก
จัดทำเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง
แต่ยังไม่ทันเรียบร้อยบริบูรณ์
ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
พุทธศักราช
๒๓๒๕
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์
ทรงสร้างกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่
แม้ศึกสงครามยังไม่สิ้น
พระองค์ก็ดำรงมั่นในพระพุทธศาสนาหวังให้รุ่งเรืองดังเดิม
จึงทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามขึ้นหลายวัด
ยกย่องพระสงฆ์ทรงธรรมวินัย
โดยโปรดสถาปนาให้มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ปกครองสืบมา
โปรดให้รวบรวมตรวจชำระพระไตรปิฎก
ทำให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกให้สมบูรณ์เป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พระฐานะแห่งสมเด็จพระสังฆราช
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช
๒๕๐๕
ได้มีบทบัญญัติกล่าวถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชคือ
พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
โดยทรงบัญชาการคณะสงฆ์ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย
พระธรรมวินัยและกฎมหาเถรสมาคม
โดยทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
บัญชาการงานของคณะสงฆ์ดังกล่าว
สมเด็จพระสังฆราชพ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นพระชนม์พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
ลาออกหรือทรงพระกรุณาโปรดให้ออก
สมเด็จพระสังฆราชมีพระนามอยู่
๒
แบบอย่างคือ
ถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์
และโปรดพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
จะมีสมณนามว่า
"สมเด็จพระสังฆราชเจ้า"
และมีพระนามเฉพาะ
อาทิเช่นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
(วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(วัดบวรนิเวศวิหาร)
เป็นต้น
ส่วนสมเด็จพระสังฆราชที่สถาปนาขึ้นจากสามัญชน
จะมีพระนามว่า
"สมเด็จพระอริยวงศญาณ"
ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงพระนามเป็น
"สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ"
และโปรดพระราชทานให้ใช้ราชาศัพท์กับสมเด็จพระสังฆราช
ที่สถาปนาขึ้นนี้ให้เทียบเท่าพระองค์เจ้า
ราชอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์
เริ่มจากการสร้างสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีจนปัจจุบันสังฆมณฑลไทยมีพระมหาเถระผู้ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
และสมเด็จพระสังฆราชเจ้ารวม
๑๙พระองค์
โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
๕พระองค์
และสมเด็จพระสังฆราช
๑๔
พระองค์ดังนี้
๑.
สมเด็จพระอริยวงศญาณ
(สี)
สถิต ณ
วัดระฆังโฆสิตาราม
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๓๒๕
- ๒๓๓๗
ดำรงสมณศักดิ์
๑๒ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๑
เดิมพระองค์ทรงเป็นชาวนครศรีธรรมราช
บวชอยู่กรุงศรีอยุธยาคราวเสียกรุงฯ
แก่พม่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอาราธนามาอยู่ที่วัดระฆังฯ
รัชกาลที่
๑
ย้ายกรุงธนบุรีมากรุงเทพฯ
โปรดสถาปนาเป็น
สมเด็จพระสังฆราช
เป็นประธานการสังคายนาพระไตรปิฎก
๒.
สมเด็จพระอริยวงศญาณ
(สุก)
สถิต ณ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๓๓๗
- ๒๓๕๙
ดำรงสมณศักดิ์
๒๒พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๑
สมเด็จพระสังฆราช
(สุก)
ทรงรอบรู้แตกฉานทางพระพุทธศาสนาทรงจัดระเบียบการสอบพระปริยัติธรรมเพื่อเป็นเปรียญแบบ
๓
ชั้นคือเปรียญตรี
เปรียญโท
และ
เปรียญเอก
๓.
สมเด็จพระอริยวงศญาณ
(มี)
สถิต
ณ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ.
๒๓๕๙ - ๒๓๖๒
ดำรงสมณศักดิ์
๔ พรรษา
พระชนมายุ
๗๐ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๒
สมเด็จพระสังฆราช
(มี)
ทรงจัดการเรื่องการบริหารสังฆมณฑล
ส่งสมณทูตไปลังกาทวีปเป็นครั้งแรก
ทรงรวบรวมโอวาทคำสอนใช้วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์สามเณรเป็นสังฆาณัติของคณะสงฆ์
ทรงพระนิพนธ์
"โอวาทานุสาสนี"
ฟื้นฟูพระราชพิธีวิสาขบูชา
๔.
สมเด็จพระอริยวงศญาณ
(สุก)
สถิต
ณ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ.
๒๓๖๒ - ๒๓๖๕
ดำรงสมณศักดิ์
๔ พรรษา
พระชนมายุ
๙๐ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๒
สมเด็จพระสังฆราช
(สุกญาณสังวร)
มีผู้ถวายสมัญญาว่า
"สังฆราชไก่เถื่อน"
ปรากฏทรงคุณธรรมทางวิปัสสนาธุระ
เล่าลือว่ามีเมตตาบริหารธรรม
พ.ศ. ๒๓๖๓
เกิดอหิวาตกโรคระบาดหนัก
ชาวบ้านชาวเมืองเสียชีวิตสามหมื่นคน
รัชกาลที่
๒
ทรงสั่งให้ตั้งพระราชพิธีอาพาธพินาศโดยพระองค์ทรงศีลตั้งโรงทาน
สมเด็จพระสังฆราชทรงให้สังคายนาบทสวดมนต์เพื่อใช้ในพระราชพิธีดังกล่าว
๕.
สมเด็จพระอริยวงศญาณ
(ด่อน)
สถิต ณ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๓๖๕
- ๒๓๘๕
ดำรงสมณศักดิ์
๒๐ พรรษา
พระชนมายุ
๘๑ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๒ - ๓
สมเด็จพระอริยวงศญาณ
(ด่อน)
ปฏิบัติศาสนกิจในสมัยรัชกาลที่
๓
ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งยวดจึงทรงเป็นประธานศาสนกิจสร้างพระไตรปิฎกจำนวนมาก
ตรวจชำระอักขระบาลี
การสร้างวัดสำคัญและส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม
๖.
สมเด็จพระอริยวงศญาณ
(นาค)
สถิต ณ
วัดราชบูรณะราชวรวิหาร
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๓๘๖
- ๒๓๙๒
ดำรงสมณศักดิ์
๖ พรรษา
พระชนมายุ
๘๖ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๓
สมเด็จพระสังฆราช
(นาค)
ทรงรื้อฟื้นส่งสมณทูตไปยังลังกา
และสมณทูตจากลังกาเดินทางมายังประเทศไทย
สัมพันธไมตรีระหว่างประเทศจึงรุ่งเรืองขึ้นมากพร้อมทั้งยืมพระไตรปิฎกฉบับใหม่ของลังกาทวีปเข้ามาแปลไว้
๓๐ คัมภีร์
๗.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
(พระองค์เจ้าวาสุกรี)
ทรงอิสสริยยศ
ณ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๓๙๔
- ๒๓๙๖
ดำรงสมณศักดิ์
๒ พรรษา
พระชนมายุ
๖๔ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๔
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
นับเป็นพระสังฆราชเจ้าพระองค์แรกที่เป็นพระราชวงศ์
พระนามเดิม
"พระองค์เจ้าวาสุกรี"
พระราชโอรสในรัชกาลที่
๑
ทรงรอบรู้แตกฉานทั้งภาษามคธ
บาลี
และวรรณกรรม
ทรงเป็นกวีเอกของโลก
มีพระนิพนธ์ที่เป็นหลักฐาน
๑๕ เรื่อง
๘.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์
ปัญญาอคคโต)
ทรงอิสสริยยศ
ณ
วัดบวรนิเวศวิหาร
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๓๙๖
ดำรงสมณศักดิ์
๑๐
เดือนเศษ
พระชนมายุ
๘๓ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๕
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
พระนามเดิม
"พระองค์เจ้าฤกษ์"
เป็นพระโอรสองค์ที่
๑๘
ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า
กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
พระองค์ทรงเชี่ยวชาญภาษาบาลี
เป็นองค์ประธานชำระและแปลพระไตรปิฎก
พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
ทรงกำหนดพระราชบัญญัติและประกาศคณะสงฆ์ต่างๆ
๙.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(สา
ปุสสเทโว)
สถิต
ณ
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ.
๒๔๓๖ - ๒๔๔๒
ดำรงสมณศักดิ์
๖ พรรษา
พระชนมายุ
๘๗ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๕
สมเด็จพระสังฆราช
(สา
ปุสสเทโว ป.ธ.๙)
ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมเข้าสอบแปลปากเปล่าได้คราวเดียว
๙ ประโยค
ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร
อายุ ๑๘ ปี
เป็นเปรียญเอกตามเสด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร
และลาสิกขาไปเป็นฆราวาส
๖ ปี รัชกาลที่
๔
โปรดเกล้าฯ
ให้อุปสมบทใหม่และเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวงอีกครั้งปรากฎว่าสอบได้
๙
ประโยคอีก
ทรงเชี่ยวชาญทางคัมภีร์พระสูตรมาก
งานที่ทรงนิพนธ์มี
๓๙ บท
ทรงนิพนธ์พระสูตรคาถาต่างๆ
ไว้มากที่สุด
๑๐.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงอิสสริยยศ
วัดบวรนิเวศวิหาร
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ.
๒๔๔๓ - ๒๔๖๔ดำรงสมณศักดิ์
๒๒ พรรษา
พระชนมายุ
๖๒ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๖
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
พระนามเดิม
"พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ"
เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่
๔ พระองค์ทรงวางรากฐานของการศึกษาสงฆ์ในยุคสมัยใหม่
และทรงทำงานเกี่ยวกับการศึกษาพระปริยัติธรรมมากที่สุดพระองค์หนึ่ง
ทรงจัดให้มีการสอบความรู้นักธรรมและระบบสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
มีการจัดระบบแบ่งส่วนการปกครองในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองพระสงฆ์
ร.ศ. ๑๒๑
ทรงริเริ่มก่อตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย
๑๑.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์)
ทรงอิสสริยยศ
ณ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ.
๒๔๖๔–
๒๔๘๐
ดำรงสมณศักดิ์
๑๖ พรรษา
พระชนมายุ
๗๙ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๖ - ๗
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
พระนามเดิม
"หม่อมเจ้าภุชงค์
ชมพูนุท" ทรงวางระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ให้รัดกุมที่เรียกว่า
สังฆราชาณัติ
ทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
ทรงให้คำแปลเรื่องเกี่ยวกับทรงธรรมเช่น
สามเณรานุสิกขา
อภิธานนัปปทีปิกา
๑๒.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(แพ
ติสสเทโว)
สถิต ณ
วัดสุทัศนเทพวราราม
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๒๔๘๗
ดำรงสมณศักดิ์
๖ พรรษา
พระชนมายุ
๘๙ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๘
สมเด็จพระสังฆราช
(แพ
ติสสเทโว) เป็นชาวกรุงเทพฯ
โดยกำเนิด
ทรงเป็นผู้ประสานนโยบายพุทธจักรและอาณาจักรให้อนุรูปกันในระบอบใหม่
มีพระบัญชาให้เปิดประชุมสมัยสามัญแห่งสังฆสภาและเสด็จเปิดปฐมฤกษ์เมื่อวันวิสาขบูชา
๒๔๘๕
ทรงวางระเบียบพระภิกษุสามเณรไปต่างประเทศ
ทรงเป็นประธานแปลพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย
ทรงมีความนิยมทางศิลปะจัดระเบียบของสงฆ์
โปรดจัดโต๊ะหมู่บูชาเป็นแบบแผน
๑๓.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(ม.ร.ว.ชื่น
นพวงศ์
สุจิตโต)
ทรงอิสสริยศ
ณ
วัดบวรนิเวศวิหาร
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๘๘
- ๒๕๐๑
ดำรงสมณศักดิ์
๑๔ พรรษา
พระชนมายุ
๘๖ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๘ - ๙
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
พระนามเดิม
"ม.ร.ว.ชื่น
นพวงศ์" ทรงมีพระปรีชายอดเยี่ยม
ทรงประกอบศาสนกิจสำคัญตั้งแต่ประกอบพิธีฉลอง
๒๕
พุทธศตวรรษ
อันเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่แห่งพระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย
ทรงมีพระบัญชาให้จัดตั้งสภาการศึกษามหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
เปิดการสอบพระนักศึกษาเป็นรุ่นแรกเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๙๙
ทรงเป็นพระอุปัชยาจารย์ในการเสด็จออกทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๔..
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(ปลด
กิตติโสภโณ)
สถิต ณ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๐๓
- ๒๕๐๕
ดำรงสมณศักดิ์
๒ พรรษา
พระชนมายุ
๗๓ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๙
สมเด็จพระสังฆราช
(ปลด
กิตติโสภโณ
ป.ธ.๙)
ทรงสนพระทัยการศึกษาพระปริยัติธรรมจนแตกฉาน
สอบไล่เปรียญธรรม
๙
ประโยคได้หน้าพระที่นั่ง
รัชกาลที่
๕) ตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณรจึงได้รับพระราชทานอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์
ณ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เป็นสามเณรรูปแรกที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
และเป็นธรรมเนียมสืบมา
ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเถระที่แสดงธรรมมีโวหารไพเราะทันสมัย
ทรงรับงานพระปริยัติมาโดยตลอด
ได้แสดงพระปรีชาสามารถรอบรู้แตกฉานในพระปริยัติธรรมให้ปรากฏ
๑๕.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(อยู่
ญาโณทโย)
สถิต ณ
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๐๖
- ๒๕๐๘
ดำรงสมณศักดิ์
๒ พรรษา
พระชนมายุ
๙๑ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๙
สมเด็จพระสังฆราช
(อยู่
ญาโณทโย ป.ธ.๙)
ทรงความสันโดษมักน้อย
และมีความเป็นกันเองไม่ถือพระองค์
เมื่อทรงเข้าแปลบาลีสนามหลวงเป็นเปรียญ
๙ ประโยค
รัชกาลที่
๕
ทรงเลื่อมใสศรัทธารับสั่งให้นำรถยนต์หลวงมาส่งถึงวัดสระเกศ
และปฏิบัติเป็นธรรมเนียมสืบมา
ทรงพหูสูต
ทรงเชี่ยวชาญแตกฉานอักษรสมัยทั้งสกสมัยและไพรัชพากษ์เป็นอย่างดี
๑๖.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(จวน
อุฏฐายี)
สถิต ณ
วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ.
๒๕๐๘ - ๒๕๑๔
ดำรงสมณศักดิ์
๗ พรรษา
พระชนมายุ
๗๔ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๙
สมเด็จพระสังฆราช
(จวน
อุฏฐายี ป.ธ.๙)
ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม
ทรงนิพนธ์ "รตนตตยปปภาวสิทธิคาถา"
สำหรับใช้สวดในพระราชพิธี
ทรงเคยเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่สังฆนายก
๒ สมัย
ทรงส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยทางพุทธศาสนากับกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งหลักสูตรการศึกษาของพระภิกษุสามเณรเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ
ทรงออกคำสั่งมหาเถรสมาคมเรื่องการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์
๒๕๑๒
มีผลให้สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ
๑๗.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(ปุ่น
ปุณณสิริ)
สถิต
ณ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ.
๒๕๑๕ - ๒๕๑๗
ดำรงสมณศักดิ์
๑ พรรษาเศษ
พระชนมายุ
๗๗ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๙
สมเด็จพระสังฆราช
(ปุ่น
ปุณณสิริ) พระนามทั่วไปเรียกว่า
"สมเด็จป๋า)
เพราะมีพระทัยเมตตากรุณาแก่ทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะดุจพ่อมีเมตตาต่อบุตร
ห่วงใย
เอื้ออาทรรักใคร่เสมอหน้า
เมื่อเยาว์วัยเข้ามาศึกษาที่กรุงเทพฯ
กับพระป่วนวัดมหาธาตุ
และย้ายมาศึกษากับพระมงคลเทพมุนี
(สด
จนทสโร) ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา
ที่วัดพระเชตุพนฯ
สมเด็จป๋าทรงรับงานบริหารการคณะสงฆ์หลายประการ
ทรงเป็นพระธรรมทูต
ทรงสนพระทัยในการประพันธ์
มีนามปากกาว่า
"ป. ปุณณสิริ"
ทรงนิพนธ์บทความไว้มากและมีชื่อเสียงแพร่หลายมาก
๑๘.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(วาสน์
วาสโน)
สถิต ณ
วัดราช
บพิตรสถิตมหาสีมาราม
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ.
๒๕๑๗ - ๒๕๓๑
ดำรงสมณศักดิ์
๑๔
พรรษาเศษ
พระชนมายุ
๙๑ พรรษา
สมัยรัชกาลที่
๙
สมเด็จพระสังฆราช
(วาสน์
วาสโน) ทรงเป็นผู้เจริญยิ่งด้วยพรรษายุกาล
รัตตัญญู
ผู้ทรงจริยางดงาม
สุขุมธรรมวิธาน
น่าเคารพ
ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมารเมื่อคราวทรงผนวช
ทรงเร่งรัดการก่อสร้างพุทธมณฑล
และทรงนิพนธ์รจนาคำสอนไว้อย่างไพเราะ
๑๙.
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช
(เจริญ
สุวฑฒโน)
สถิต ณ
วัดบวรนิเวศวิหาร
ดำรงสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๒
- ปัจจุบัน
สถาปนา ๒๑
เมษายน
๒๕๓๒
พระชนม์ปีที่
๔๔
รัชกาลที่
๙
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก
(เจริญ
สุวฑฒโน ป.ธ.๙)
พระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏของสมเด็จพระสังฆราช
พระองค์ที่
๑๙
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า
"สมเด็จพระญาณสังวร
บรมนริศรธรรมนีติภิบาล
อริยวงศาคตญาณวิมล
สกลมหาสังฆปริณายก
ตรีปิฎกปริยัตติธาดา
วิสุทธจริยาธิสมบัติ
สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุตปาวจนุตตมพิสาร
สุขุมธรรมวิธานธำรง
วชิรญาณวงศวิวัฒ
พุทธบริษัทคารวสถาน
วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ
วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร
บวรธรรมบพิตร
สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดีคามวาสี
อรัณยาวาสี
สมเด็จพระสังฆราช"
|