วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร
ในพระบรมราชูปถัมภ์
อ.
บางละมุง
จ. ชลบุรี
๒๐๑๕๐
โทร
๐๓๘ ๒๓๗ ๕๐๖
วัดญาณสังวราราม
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิดวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยใหญ่
ตำบลห้วยใหญ่
อำเภอบางละมุง
จังหวัดชลบุรี
๒๐๒๖๐
สร้างขึ้นใน
พ.ศ. ๒๕๑๙
นายแพทย์ขจร
และคุณหญิงนิธิวดี
อันตระการ
พร้อมด้วยบุตรธิดา
มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินจำนวน
๑๐๐ ไร่ ๑ งาน
๙๒ ตารางวา
แด่ สมเด็จพระญาณสังวร
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
(ปัจจุบันทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช
ตั้งแต่ พ.ศ.
๒๕๓๒ - ปัจจุบัน)
เพื่อสร้างวัดในพระพุทธศาสนา
และปรารถนาให้มีนามตามทินนามสมณศักดิ์ของสมเด็จฯ
วัดนี้จึงมีชื่อว่า
วัดญาณสังวราราม
ในระยะแรกวัดนี้มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์
และได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
๒๑
กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๒๓
และรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่
๑๐ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๒๕
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทรมหาภูมิพลมหาราช
ทรงพระมหากรุณารับไว้เป็นวัดในพระบรมราชูปถัมภ์และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกวัดญาณสังวรารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร
ตั้งแต่วันที่
๔ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๓๑
ปัจจุบันอาณาเขตของวัดมีพื้นที่
๓๖๖ ไร่ ๒ งาน
๑๑ ตารางวา
นอกจากนี้ยังมีเนื้อที่ในเขตโครงการพระราชดำริประมาณ
๒,๕๐๐
ไร่เศษที่ติดต่อกับอาณาเขตวัด
เนื่องจากบริเวณพื้นที่สร้างวัดเป็นที่ราบเชิงเขาห่างจากถนนสุขุมวิทช่วงระหว่างบางละมุง-สัตหีบ
โดยแยกเข้ามาจากถนนทางหลวงประมาณ
๕ กิโลเมตร
ทางการจึงได้ทำการตัดถนนเข้ามาจนถึงวัดทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น
จึงได้มีการก่อสร้างปูชนียวัตถุสถานขึ้นตามลำดับ
เช่น
พระอุโบสถ, พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์,
พระมหามณฑป
พระพุทธบาท
ภปร. สก., ศาลาอเนกกุศลขนาดใหญ่สองหลัง
สว.กว. (ศรีสังวาลย์กัลยาณิวัฒนา)
และ มวก.สธ.
(มหาวชิราลงกรณ์
สิรินธร)
วัดญาณสังวรารามอาจถือเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
เนื่องจากคณะผู้สร้างวัดได้พร้อมใจกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ
๕ รอบ
วัดนี้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระกรุณานานัปการจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์
และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้ทรงอุปถัมภ์ในการก่อสร้างตลอดมา
และทรงรับเป็นวัดในพระบรมราชูปถัมภ์
เป็นวัดในพระองค์อีกด้วย
สิ่งสำคัญในพระอาราม
๑.
พระอุโบสถ
สร้างดัดแปลงจากแบบพระอุโบสถคณะรังษีวัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ทรงวางศิลาพระฤกษ์
สร้างเมื่อวันจันทร์ที่
๒๔ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๒๓
ภายในประดิษฐานพระประธานมีพระนามว่า
สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์
ที่เศียรบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
องค์พระประธานสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ
ถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเททองหล่อเมื่อวันที่
๑๔ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๒๓
ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
ส่วนพระอุโบสถคณะผู้สร้างวัดได้ร่วมใจกันสร้างเพื่อน้อมเกล้าฯ
ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๒.
พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ใช้นามนี้โดยมีความหมายว่า
พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระมหาจักรี
พระบรมธาตุเจดีย์สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ
ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
และพระบรมราชวงศ์จักรี
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในการก่อสร้าง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาพระฤกษ์สร้างเมื่อวันศุกร์ที่
๓๐ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๐
พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่
มีความสูง
๓๙ เมตร
ฐานกว้าง ๓๙
เมตร
ฐานชั้นล่างเป็นห้องโถงสำหรับการบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่างๆ
มีพระพุทธรูป
ภปร. ปางประทานพรเป็นองค์พระประธาน
พร้อมโต๊ะหมู่บูชามีพระนามาภิไธยย่อ
สว. ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงถวายไว้
ชั้นที่ ๒
เป็นโถงสำหรับที่ประชุมสงฆ์
เป็นที่ปฏิบัติสมาธิภาวนา
ชั้นที่ ๓
เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
๓.
พระมหามณฑปพระพุทธบาท
ภปร.สก.
สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ
ถวายเป็นพระราชกุศลส่งเสริมพระบุญญาธิการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างบนยอดเขาแก้ว
ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทคู่ซึ่งแกะสลักบนแผ่นศิลาทึบ
ลักษณะพระมณฑปเป็นมณฑป
๒ ชั้น
ชั้นล่างแบ่งเป็นสองตอน
ส่วนที่ ๑
เป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์
ส่วนที่ ๒
เป็นถังเก็บน้ำสะอาดเพื่อการบริโภค
ชั้นบนเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทคู่
ที่องค์พระมณฑปประดับด้วยโมเสกสีทอง
ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานจากโมเสกที่รื้อออกจากองค์พระเจดีย์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวังเมื่อคราวปฏิสังขรณ์ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์
๒๐๐ ปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางศิลาพระฤกษ์เมื่อวันพุธที่
๒๗ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๒๗
๔.
ศาลาอเนกกุศล
สว.กว.
สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ
ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
พระประธานประจำศาลาคือ
พระพุทธชินราชสีหศาสดา
เป็นพระพุทธรูปที่ดัดแปลงจากแบบพระ
ภปร.
ปางประทานพร
เป็นพระภปร.
ปางสมาธิ
สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก
และสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
รัชกาลที่ ๘
๕.
ศาลาอเนกกุศล
มวก.สธ.
สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ
ถวายเป็นพระราชกุศลในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมารและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
พระประธานประจำศาลาได้จำลองแบบจากพระไพรีพินาศที่ประดิษฐานอยู่
ณ
ทักษิณชั้นบนของพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร
๖.
พระตำหนักทรงไทย
ประกอบด้วยพระตำหนัก
๔ หลัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัด
เยื้องกับพระบรมธาตุเจดีย์ไปทางทิศเหนือเล็กน้อย สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ
ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษาครบ
๕ รอบ สำหรับเป็นที่เสด็จประทับปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามพระราชอัธยาศัย
๗.
ศาลานานาชาติ
หรือ ศาลามังกรเล่นน้ำ
เป็นศาลาขนาดเล็ก
ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำ
มี ๗ หลัง
คือศาลาไทยภาคกลาง
ศาลาไทยล้านนา
ศาลาจีนหลังคามังกร
ศาลาจีนหลังหงส์
ศาลาฝรั่ง
ศาลาอินเดีย
และศาลาญี่ปุ่น
ศาลาแต่ละหลังแสดงถึงศิลปะสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนาของชาติต่างๆ
และแต่ละศาลามีรูปมังกรเล่นน้ำประดับเป็นสัญลักษณ์ทุกศาลา
อันเป็นสิ่งที่หมายถึง
น้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรทุกถ้วนหน้าแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๘. พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา
พระพุทธรูปแกะสลัก
หน้าผาเขาชีจรรย์
สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาส
ทรงครองราชฯ
๕๐ ปี
|